analyticstracking
หัวข้อธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ : ความทรงจำของคนไทยที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงใจคนไทยชั่วนิรันดร์ คือ ภาพพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆในท้องถิ่นทุรกันดาร และทรงมีพระราชปฏิสันถาร
กับประชาชนโดยไม่ถือพระองค์
คนไทย 78.5 % รู้สึกว่า การได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนักเป็นช่วงชีวิตที่รู้สึกว่า
ได้เข้าไปอยู่ใกล้พระองค์ท่าน มากที่สุด
และคนไทยกว่า 60 % ได้น้อมนำคำสอนเรื่อง ความพอดี ความเพียร ความซื่อสัตย์ ไปปฏิบัติแล้ว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ความทรงจำของคนไทยที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9”

โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,150 คน พบว่า
 
                  ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึง
ใจ คนไทยชั่วนิรันดร์ คือ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร
ทรงขับรถลุยน้ำ ลุยโคลน เดินเท้า เพื่อเข้าไปพบปะประชาชนและมีพระราช
ปฏิสันถาร โดยไม่ถือพระองค์ (ร้อยละ 38.8)
รองลงมาคือทรงมีพระเสโท(เหงื่อ)ไหล
ลงมาที่ปลาย พระนาสิก(จมูก)และทรงปาดพระเสโทที่พระนลาฏ (หน้าผาก) (ร้อยละ 12.8)
และ ทรงแย้ม พระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก
ณ สีหบัญชร (ร้อยละ 11.8)
 
                  เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่รู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ใกล้
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มากที่สุด เมื่อพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่
ประชาชนร้อยละ 78.5 ระบุว่า ได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนัก
รองลงมาร้อยละ 44.8
ระบุว่าได้เข้าเฝ้าตามเส้นทางเสด็จฯ ขณะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตามสถานที่ต่างๆ อาทิ พระบรมมหาราชวัง
พระราชวังไกลกังวล รพ.ศิริราช เป็นต้น และร้อยละ 32.6 ระบุว่าได้ไปเยี่ยมชมโครงการหลวงต่างๆ ตามรอยพระราชดำริ
 
                  ทั้งนี้ จาก 9 คำพ่อสอน ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนยึดถือและได้น้อมนำไปปฏิบัติแล้ว
ประชาชนร้อยละ 78.3 ระบุว่า “ความพอดี”
รองลงมาร้อยละ 62.7 ระบุว่า “ความเพียร” และร้อยละ 62.3 ระบุว่า “ความซื้อสัตย์”
 
 
                  ดังรายละเอียดในต่อไปนี้
 
             1. ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงใจชั่วนิรันดร์มากที่สุด
                 5 อันดับแรก คือ
  (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถลุยน้ำ
ลุยโคลน เดินเท้า เพื่อเข้าไปพบปะประชาชนและมีพระราชปฏิสันถาร
โดยไม่ถือพระองค์
38.8
ทรงมีพระเสโท(เหงื่อ)ไหลลงมาที่ปลายพระนาสิก(จมูก)และทรงปาดพระเสโทที่
พระนลาฏ (หน้าผาก)
12.8
ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก
ณ สีหบัญชร
11.8
ทรงงานเพื่อประชาชนไม่เคยหยุดพักแม้จะทรงพระประชวร
9.5
ทรงพระราชทานแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การขาดน้ำ
เพื่อการเกษตรในหน้าแล้ง ให้แก่ประชาชน เช่น โครงการแก้มลิง โครงการฝนหลวง
และการสร้างเขื่อน และทรงลงพื้นที่ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
7.5
 
 
             2. เหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่รู้สึกได้ว่าเข้าไปอยู่ใกล้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มากที่สุด
                 เมื่อพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่
 (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนัก
78.5
ได้เข้าเฝ้าตามเส้นทางเสด็จฯ ขณะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตามสถานที่
ต่างๆ อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังไกลกังวล รพ.ศิริราช เป็นต้น
44.8
ได้ไปเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ตามรอยพระราชดำริ
32.6
ได้อยู่อาศัยในพื้นที่/สถานที่ที่พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนิน
21.9
ได้เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก ณ สีหบัญชร เมื่อครั้งครองราชย์ครบ 60 ปี
12.2
ได้เข้าเฝ้าเมื่อครั้งพระองค์ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช
10.8
อื่นๆ อาทิ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน
ได้ประดับยศทางทหาร เป็นต้น
7.0
 
 
             3. จาก 9 คำพ่อสอน ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนยึดถือและได้น้อมนำไปปฏิบัติแล้ว
                 (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
ความพอดี
78.3
ความเพียร
62.7
ความซื่อสัตย์
62.3
คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
39.8
อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
38.2
พูดจริงทำจริง
36.9
การเอาชนะใจตน
36.6
ความรู้ตน
33.3
หนังสือเป็นออมสิน
19.2
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำต่างๆ ที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
และคำสอนของพระองค์ที่ได้น้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทั่วประเทศด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มพื้นที่ไปยังประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ 48.3 และเพศหญิงร้อยละ 51.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบตอบได้เอง
อย่างอิสระ(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11 – 14 พฤศจิกายน 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 พฤศจิกายน 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
555
48.3
             หญิง
595
51.7
รวม
1,150
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
284
24.7
             31 – 40 ปี
230
20.0
             41 – 50 ปี
225
19.6
             51 – 60 ปี
222
19.3
             61 ปีขึ้นไป
189
16.4
รวม
1,150
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
753
65.5
             ปริญญาตรี
343
29.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
54
4.7
รวม
1,150
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
136
11.8
             ลูกจ้างเอกชน
344
29.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
359
31.2
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
29
2.5
            ทำงานให้ครอบครัว
14
1.2
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
153
13.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
94
8.2
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
21
1.9
รวม
1,150
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776